สัตว์ประหลาด! หรือ Tropical Malady เป็นภาพยนตร์เรื่องยาวเรื่องที่สี่ของอภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ซึ่งออกฉายครั้งแรกในสายการประกวด ที่เทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ ประเทศฝรั่งเศส ครั้งที่ 57 ประจำปี 2004 และได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในหมู่ผู้ชม และนักวิจารณ์แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้กลับได้รับรางวัล Prix du Jury (Jury Prize – ขวัญใจกรรมการ) นับเป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่ได้เข้าประกวดในสายหลัก และได้รับรางวัลใหญ่

สำหรับสัตว์ประหลาด เป็นเรื่องราวเป็นสองส่วน ส่วนแรกเป็นเรื่องเกี่ยวกับความรักของเกย์สองคน คือ โต้ง – ศักดา แก้วบัวดี ลูกจ้างโรงน้ำแข็ง กับ เก่ง พลทหารหนุ่ม บัลลพ ล้อมน้อย ส่วนหลังเป็นเรื่องราวที่ต่างกันโดยสิ้นเชิง เป็นเรื่องลี้ลับเชิงนิทาน เกี่ยวกับการตามล่าในป่าทึบระหว่างนายพราน กับเสือสมิง ที่เคยกินคน และมีวิญญาณของเหยื่อที่ถูกกินสิงอยู่ . ซึ่งหลักจากได้รับรางวัลที่เมืองคานส์ ภาพยนตร์สัตว์ประหลาด! มีโอกาสได้เข้าฉายในประเทศไทยแบบจำกัดโรง เป็นเวลา 10 วัน

ล่าสุด โต้ง – ศักดา แก้วบัวดี หนึ่งในนักแสดงนำที่รับบทลูกจ้างโรงน้ำแข็ง ออกมาโพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊ก Sakda Kaewbuadee Vaysse เล่าเรื่องราวเส้นทางและจุดเริ่มต้นของการได้มาเล่นภาพยนตร์เรื่องนี้ว่า…

วันนี้เมื่อ 20 ที่แล้ว ผมได้เล่นภาพยนตร์เรื่องแรก และภาพยนตร์เรื่องนี้ก็พาให้ผมได้เดินทางมาต่างประเทศเป็นครั้งแรกในชีวิตด้วยเช่นกัน . ตอนผมจบ ม.6 ใหม่ๆ พ่อและแม่ให้กลับไปช่วยกันทำไร่ที่บ้าน แต่ผมดื้ออยากเรียนต่อมหาวิทยาลัย ครอบครัวผมค่อนข้างยากไร้ แค่หาเงินมาประทังชีวิตในแต่ละวันก็ยากโครตแล้ว อย่าหวังเลยว่าพ่อกับแม่จะมีเงินให้ผมเรียนต่อ ผมเลยหอบวุฒิ ม.6 หนีเข้ามาหางานทำในกรุงเทพ ตั้งความหวังจะเก็บเงินไว้เข้าเรียนมหาวิทยาลัยให้ได้

งานแรกผมมารับจ้างเป็นคนงานก่อสร้างที่ห้วยขวางและพักอยู่ที่แค้มป์คนงาน แค่รายได้แต่ละวันยังไม่พอใช้ ดังนั้นเรื่องเรียนต่อพับเก็บไว้ได้เลย ตอนค่ำๆออกไปหางานเสริมขายพวงมาลัยตามสี่แยกไฟแดง ดึกๆกลับมานอนและตื่นเช้าไปทำงานที่ไซต์ก่อสร้างต่อ ทำแบบนี้อยู่เกือบปีก็ยังไม่มีเงินเก็บ เลยลองเปลี่ยนงานไปสมัครเป็นพนักงาน KFC ที่เซนทรัลลาดพร้าว งานเบากว่าก่อสร้างมากมายแต่รายได้ยังเท่าเดิม ถ้าเช่าห้องอยู่ในเมืองเงินเดือนก็คงไม่เหลือ เลยออกไปเช่านอกเมืองที่มีนบุรี บางครั้งเลิกงานดึกรถเมล์ก็หมดแล้ว เลยไปนอนที่ป้ายรถเมล์ บางทีก็แอบปีนรั้วเข้าไปนอนในสวนจตุจักร ตอนเช้าก็มาแปรงฟันในห้องน้ำห้าง ใช้น้ำลูบๆตัวใส่ชุดเดิมทำงานต่อ

ผมยังคงหวังเต็มเปี่ยมว่าสักวันเดี๋ยวก็ต้องได้เรียน จนเวลามันผ่านไป 2 ปีเก็บเงินได้แค่หลักพัน ในชีวิตไม่เคยจับเงิน 1 หมื่นบาทเลย เอาวะลองไปเป็นเซลล์แมนลากรถเข็นขายของตามข้างถนนดูซิ เอาสินค้าเข้าไปเสนอขายตามซอกซอยให้บ้านนั้นบ้านนี้ รายได้มันดีกว่าที่ผ่านๆมา แต่ก็ยังเก็บเงินได้ไม่พอที่จะส่งตัวเองเรียนอีกนั่นแหละ จนเริ่มท้อกับชีวิต ตอนนั้นพ่อเข้ามาเช่าแท๊กซี่ขับที่กรุงเทพ ผมก็ไปอยู่ห้องเช่าเดียวกัน ทั้งพ่อ แม่ น้องชาย และผมก็นอนเรียงรายอัดกันอยู่ในห้องเช่าเดียวกัน แต่จะอยู่แออัดแบบนี้ตลอดคงไม่ได้หรอก พ่อก็พาย้ายที่อยู่ไปชานเมืองปทุมธานีซึ่งเป็นที่พักที่ใหญ่กว่าเดิม พ่อก็ยังคงเข้ากรุงมาขับแท๊กซี่ทุกวัน ผมเองก็ทำงานที่ 7-11 และเปลี่ยนไปเป็นฝ่ายผลิตอาหารในโรงงานซีพีที่ปทุมธานีนั่นแหละ

Thai director Apichatpong Weerasethakul (L) and actor Sakda Kaewbuadee pose during a photo call for the film “Tropical Malady”, 18 May 2004, at the 57th Cannes Film Festival in the French Riviera town. The film is in competition for the festival’s top prize, the Palme d’Or. AFP PHOTO/PASCAL GUYOT (Photo by PASCAL GUYOT / AFP)

จนอายุผมถึงคราวเกณฑ์ทหาร ก็ไปประจำกองอยู่ที่กาญจนบุรี 2 ปี เมื่อปลดทหารออกมาก็มีทางให้เลือกเดิน 2 ทางคือกลับไปทำงานที่โรงงานเดิมแล้วใช้ชีวิตอยู่กับพ่อแม่ หรือจะลองเสี่ยงไปหาโอกาสในกรุงเทพอีกครั้ง เพราะลึกๆแล้วก็ยังมีความหวังที่จะเรียนต่อให้ได้ ผมจึงเลือกข้อหลัง วันนั้นเลยใส่ชุดทหารเดินทางเข้ามากรุงเทพทันที ไม่รู้อะไรมาดลใจให้คิด ว่าถ้าใส่ชุดทหารมาสมัครงานก็จะหางานดีๆได้ง่ายขึ้น (ถ้าใครได้ดู Tropical Malady ก็จะเห็นฉากนี้อยู่ในหนังด้วย 555)

เมื่อมาถึงก็เคว้งสิ ไม่มีเงิน ไม่มีที่พัก ไปสมัครงานที่ไหนก็ไม่มีใครรับ ตอนนั้นสิ้นหวังโครตๆ ยืนเหม่อน้ำตาไหลเกาะขอบระเบียงชั้นสามของห้างเซนทรัลลาดพร้าว มีพี่ชายแปลกหน้าคนนึงชื่อพี่นุเดินเข้ามาทักและถามว่าผมเป็นอะไร ผมพูดเรื่องราวให้เขาฟัง พี่นุเสนอให้ผมมาพักอยู่ที่บ้านเขาจนกว่าจะหางานได้ พี่นุเป็นหนึ่งในคนที่มีบุญคุณกับผมมากๆ (ภายหลังผมได้แนะนำพี่นุให้ได้รู้จักกับพี่เจ้ยจนทั้งสองได้ลงทุนทำธุรกิจด้วยกัน) ระหว่างที่ผมอาศัยอยู่กับพี่นุ ผมได้ทำงานร้านเช่าวีดีโอซึทาย่า จนไปเห็นประกาศในหนังสือพิมพ์บริษัท Telecom Asia รับพนักงานวุฒิ ม.6 ผมผ่านสัมภาษณ์และเข้าไปทำงานที่นั่นในตำแหน่งฝ่ายขาย ไม่มีเงินเดือนให้แต่ได้ค่าคอมมิชชั่นจากการขาย พอมีรายได้มากขึ้นก็ย้ายออกจากบ้านพี่นุมาเช่าห้องอยู่ด้วยตนเอง ช่วงนั้นอินเตอร์เนตบ้านเป็นที่ต้องการของตลาดมาก ทำให้ผมมีรายได้อยู่ที่หลายหมื่นบาทต่อเดือน จนกระทั่งทุกบ้านมีอินเตอร์เนตกันหมดแล้ว รายได้ผมก็ลดลงไปด้วย จากหลักหลายหมื่นเหลืออยู่ที่หลักร้อยต่อเดือน

ผมออกมาเป็นพนักงานเสิร์ฟที่บาร์ย่านซอยอารีย์ วันหนึ่งขณะที่ผมกำลังทำงานอยู่ มีผู้กำกับหนังคนหนึ่งซึ่งมารู้ทีหลังคือพี่เจ้ยเอง มากับตากล้องฝรั่งคนนึง มาแจกใบปลิวในร้านเพื่อตามหานักแสดง พนักงานคนอื่นๆก็กรูกันเข้าไปสมัคร ผมเองยืนมองอยู่ห่างๆเพราะยุ่งอยู่กับถูพื้นในร้านก็เลยไม่ได้เข้าไปรับใบปลิวกับเค้า จนกระทั่งผมเลิกงานแต่พี่เจ้ยก็กลับไปแล้ว คืนนั้นผมไปเที่ยวต่อที่สีลม ระหว่างที่เดินอยู่นั้นก็มีคนมาสะกิดข้างหลังพร้อมถามผมว่า “น้องๆ น้องใช่คนที่ทำงานในบาร์ที่ซอยอารีย์ไหม?” และนั่นคือการพบกันครั้งแรกของผมกับพี่เจ้ย อภิชาติพงศ์

Thai director Apichatpong Weerasethakul (R) and actor Sakda Kaewbuadee pose during a photo call for the film “Tropical Malady”, 18 May 2004, at the 57th Cannes Film Festival in the French Riviera town. The film is in competition for the festival’s top prize, the Palme d’Or. AFP PHOTO/FRANCOIS GUILLOT (Photo by FRANCOIS GUILLOT / AFP)

หลังจากที่พี่เจ้ยแนะนำตัวแล้วก็บอกผมว่า พี่เจ้ยเห็นเราตั้งแต่ตอนไปหานักแสดงที่บาร์แล้ว แต่เห็นทำงานอยู่เลยไม่กล้าเข้าไปรบกวน แล้วดันบังเอิญมาเจอกันที่นี่อีกก็เลยดีใจมากและรีบเข้ามาทัก พี่กำลังหานักแสดงหนังเรื่องใหม่ ซึ่งบุคลิกน้องตรงกับที่พี่เขียนบทไว้เลย อยากให้เราลองเข้าไปแคสติ้งดู

เอาจริงๆนะ ตอนนั้นผมไม่รู้จักใครหว่าเจ้ย อภิชาติพงศ์ เห็นมีฝรั่งถือกล้องมาด้วยกัน ผมก็คิดว่าต้องเป็นหนังโป๊แน่นอน ก็เลยปฏิเสธไปทันที แต่พี่เจ้ยก็ตื๊อจนขอเบอร์มือถือผมจนได้ ทุกวันพี่หนู(ผู้ช่วยพี่เจ้ย) จะโทรจิกผมให้มาลองแคสติ้ง ผมอิดออดบอกปฏิเสธพี่หนูไปหลายครั้ง แต่พี่หนูก็ไม่ถอดใจโทรมาจนผมยอมไปแคสให้

วันนั้นจำได้ดีเลยที่ออฟฟิศ Kick The Machine ลาดพร้าวซอย 5 มีโปสเตอร์หนัง Blissfully Yours (สุดเสน่หา) ติดอยู่หน้าออฟฟิศและในโปสเตอร์มีชื่ออภิชาติพงศ์เป็นผู้กำกับ เราก็เฮ้ยยยย ของจริงนี่หว่า เพราะเราเคยได้ยินหนังเรื่องเรื่องนี้จากข่าว จากนั้นก่อนเข้าห้องแคส ต้องลงชื่อว่ามาแคสในบทไหน พี่หนูบอกว่าให้ลงแคสบทของ “ชัย” ซึ่งผมเป็นลำดับที่ 52 จากคนที่ได้มาแคสบทเดียวกันนี้

ปกติพี่หนูจะเป็นคนแคสแล้วส่งวีดีโอให้พี่เจ้ยเลือกทีหลัง แต่วันนั้นพี่เจ้ยขอเป็นคนแคสด้วยตัวเอง (ผมมีฟุตเทจแคสติ้งของวันนั้นด้วย วันหลังจะมาอัพให้ดู) ผมก็ไม่รู้หรอกนะว่าจะต้องแสดงอะไร จะต้องพูดยังไง แต่หลังจากแคสเสร็จพี่เจ้ยถามว่าที่พูดมานี่เรื่องจริงเหรอ? ผมตอบไปว่าเปล่านะ มันเป็นเรื่องที่ผมแต่งขึ้นมาสดๆตอนนี้เลย พี่เจ้ยบอกเนียนมาก เชื่อไปแล้วนึกว่าเป็นเรื่องจริง ทั้งน้ำเสียงและวิธีการพูดมันจริงมากๆ (นิตยสาร The Writer เคยสัมภาษณ์พี่เจ้ยว่าทำไมถึงเลือกโต้งเป็นนักแสดง พี่เจ้ยตอบว่า เพราะโต้งตอแหลเก่ง) จากนั้น 1 สัปดาห์ต่อมา พี่หนูโทรมาบอกว่าพี่เจ้ยได้ตัดสินใจแล้ว ให้โต้งรับบท “ชัย” ผมถามพี่หนูว่าชัยมีบทเยอะไหม พี่หนูบอกว่า “ชัยเป็นนักแสดงนำของเรื่องนี้ค่ะ” ผมสตั๊นไป 10 วิ จนพี่หนูถาม “โต้งยังอยู่ในสายไหมคะ?”

Thai director Apichatpong Weerasethakul (R) and actor Sakda Kaewbuadee pose with their Jury Prize, which they won for the film “Tropical Malady”, during the closing ceremony of the 57th Cannes Film Festival, 22 May 2004 in the French Riviera town. US director Michael Moore’s documentary film “Fahrenheit 9/11” took home the Palme D’Or. AFP PHOTO PASCAL GUYOT (Photo by PASCAL GUYOT / AFP)

นั่นก็คือจุดเริ่มต้นของวันนี้เมื่อ 20 ปีที่แล้ว กับ Tropical Malady ที่พาให้ผมได้มีโอกาสมาเดินพรมแดงที่คานส์ และหลังจากนั้นก็ได้เล่นอีกหลายๆเรื่องของพี่เจ้ยตลอดมา ทั้งพี่นุและพี่เจ้ยเป็นสองคนที่ผมจะไม่ลืมเลยในชีวิตนี้ ไม่งั้นตอนนี้ผมคงอาจจะกำลังทำงานที่โรงงานไหนซักแห่ง หรือไม่ก็อาจจะกลับไปทำไร่อ้อยอยู่ที่บ้านเกิดกาญจนบุรีแล้ว

Thai director Apichatpong Weerasethakul (L) and actor Sakda Kaewbuadee accept the Jury Prize for the film “Tropical Malady”, during the closing ceremony of the 57th Cannes Film Festival, 22 May 2004 in the French Riviera town. The Cannes film festival jury was to announce the winner of the prestigious Palme d’Or prize during a celebrity-studded awards ceremony, the climax to the festival’s week and a half of screenings, soirees and star appearances, attended by 15,000 movie types and journalists. AFP PHOTO BORIS HORVAT (Photo by BORIS HORVAT / AFP)

ปล. หลายคนที่ได้ดูหนังคงจะงงว่าบท “ชัย” คืออะไร ชัยก็คือบทโต้งนั่นแหละ พี่เจ้ยมาเปลี่ยนให้ชื่อโต้งทีหลัง เพราะในหนังมีบางฉากที่ทำมาจากชีวิตจริงของผมเอง รวมถึงเรื่องอื่นๆหลังจากนั้นก็ยังคงใช้ชื่อเดิมนี้อยู่ เพราะบางฉากก็เขียนมาจากเรื่องจริงด้วยเช่นกัน เช่น พระบอกหมอฟันว่าอยากเป็นดีเจ ในแสงศตวรรษ เป็นต้น

ส่วนเรื่องเรียนต่อเหรอ พอผมเริ่มมีเงิน อายุก็ปาเข้าไปจะ 30 แล้ว สำหรับผมมันสายเกิน สุดท้ายก็ต้องทิ้งความฝันอันนั้นไปซะ ทดแทนด้วยประสบการณ์ชีวิตที่ได้กลับมา เพราะถ้าหากได้ไปเรียนต่อตั้งแต่แรก เรื่องเล่าในโพสต์นี้ก็คงจะเปลี่ยนไปเป็นอีกแบบแน่นอน

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ (Strictly Necessary Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้มีความสำคัญต่อการปฏิบัติการของเว็บไซต์ feedforfuture.co ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ของเว็บไซต์เราได้ทุกส่วน โดยเฉพาะส่วนสมาชิกผู้ใช้งานของเว็บไซต์ ตลอดจนการตรวจสอบจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้ด้านประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อวิเคราะห์ และช่วยให้เราทราบถึงพฤติกรรมการใช้งาน ซึ่งจะช่วยปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดในการใช้งานบนเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาเข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้ในการบันทึก และจดจำคุณลักษณะต่างๆ ที่ท่านได้เลือกขณะเข้าชมเว็บไซต์ของเรา เช่น หมวดหมู่ และเนื้อหาที่ท่านชอบอ่านมากที่สุด เราจะบันทึกข้อมูลเหล่านี้ และนำกลับมาใช้เมื่อท่านกลับเข้ามาที่เว็บไซต์ของเราอีกครั้ง เพื่อปรับให้ท่านได้รับชมเนื้อหาได้ตรงกับความชอบของท่านให้มากที่สุด

  • คุกกี้เพื่อนำเสนอโฆษณาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Advertising Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อจดจำพฤติกรรมการอ่านเนื้อหาบนเว็บไซต์ของท่าน รวมถึงรายละเอียดของอุปกรณ์ที่ท่านใช้ เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์การนำเสนอโฆษณาที่เหมาะสมกับท่านมากที่สุด และช่วยวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณาที่เรานำเสนอด้วย ตลอดจนช่วยป้องกัน หรือจำกัดจำนวนครั้งที่ท่านจะเห็นโฆษณาเดิมซ้ำๆ

บันทึก