การนอนหลับเป็นสภาวะธรรมชาติที่ร่างกายมีการรู้ตัว หรือการรับรู้จากภายนอก รวมถึงสิ่งกระตุ้น และการเคลื่อนไหวต่างๆ ลดลง

เมื่อคนเราอายุมากขึ้นบางคนก็รู้สึกว่าการนอนหลับสนิทก็ลดน้อยลงด้วย เป็นเพราะร่างกายต้องการการหลับน้อยลง หรือเป็นเพราะคนเราไม่สามารถหลับสนิทได้นานเท่าที่ต้องการเมื่ออายุมากขึ้น?


เรื่องนี้มีคำตอบจากผลวิจัยหลายชิ้นชี้ว่า ธรรมชาติของสัตว์โลกทุกชนิดต้องการการนอน ฉะนั้นเมื่อคนเราอายุมากขึ้น ก็ยังคงต้องการการนอนหลับสนิทเท่าเดิม เพียงแต่ทำไม่ได้อย่างที่ต้องการเท่านั้นเอง และผลวิจัยยังพบว่าเมื่อเราอายุมากขึ้นความสามารถในการนอนหลับสนิทจริงๆ ก็จะลดลงเรื่อยๆ สาเหตุของการนอนหลับน้อยลงเมื่อสูงวัยขึ้นนั้น เป็นผลมาจาก การที่สมองของเราสูญเสียการเชื่อมต่อระหว่างระบบประสาทที่ทำหน้าที่รับคำสั่งให้นอนหลับไปนั่นเอง


เนื่องจาก “Receptor” หรือ หน่วยรับสัญญาณการนอนหลับในสมองของคนเราจะเริ่มเสื่อมลงในทันทีที่คนเราอายุเข้าสู่ตอนปลายของอายุ 20 ปี ไปจนถึงตอนเริ่มต้นอายุ 30 ปี ไม่ได้เริ่มเกิดขึ้นเมื่อสูงอายุ แต่ขีดความสามารถดังกล่าวจะลดลงเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเมื่อคนเราอายุถึง 50 ปี ความสามารถในการรับสัญญาณของหน่วยรับสัญญาณการนอนหลับในสมองก็จะลดลงเหลือเพียง 50 เปอร์เซ็นต์ของความสามารถเมื่อตอนอายุ 20 ปี ดังนั้นผู้ที่อายุ 50 ปีความสามารถในการนอนหลับสนิทจึงน้อยลงนั่นเอง

นอนไม่หลับ


หลายบ้านจึงอาจเคยสังเกตเห็นคุณแม่ หรือผู้สูงวัย ทำงานบ้าน งานครัว จนนอนเป็นคนสุดท้ายของบ้านเสมอ ด้วยภาระหน้าที่ที่ต้องจัดแจงให้จบก่อนวันใหม่จะมา บางครั้งพวกเขาอาจไม่ได้สังเกตว่าร่างกายส่งสัญญาณให้ง่วงนอนช้าไปจากเดิม

แต่อย่างไรก็ตามการนอนก็เป็นสิ่งจำเป็นต่อสิ่งมีชีวิต ในกรณีของมนุษย์ อวัยวะสำคัญๆ ทุกอย่าง รวมถึงระบบต่างๆ ภายในร่างกายล้วนต้องการการนอนหลับจึงสามารถจะทำหน้าที่ได้ตามปกติ

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์เริ่มค้นพบว่าการนอนหลับไม่สนิทนั้น ส่งผลกระทบให้เกิดโรคจำนวนมาก ตั้งแต่โรคที่เกี่ยวกับระบบหัวใจ หลอดเลือด เบาหวาน และโรคอ้วน รวมไปถึงอาการไม่พึ่งประสงค์ ได้แก่
– อ่อนเพลีย ไม่มีสมาธิ
– ความจำลดลง ความสามารถในการทำงานลดลง
– อารมณ์หงุดหงิดกระสับกระส่าย
– ง่วงนอนเวลากลางวัน
– ขาดพลังในการใช้ชีวิต

โดยทางการแพทย์พบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการนอนหลับที่น้อยลง หรือหลับไม่สนิทมีทั้งปัจจัยภายใน และภายนอก

ปัจจัยภายใน ได้แก่

– ความเครียดสะสม เพราะจะกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล
รบกวนวงจรการนอนหลับ

– ฮอร์โมนในร่างกาย โดยเฉพาะฮอร์โมนเพศ ฮอร์โมนเมลาโทนินที่ลดลงตามวัยที่เพิ่มขึ้น
ส่งผลต่อวงจรการนอน

– มีปัญหาทางจิตและระบบประสาทที่ตอบสนองต่อสัญญาณการนอนหลับลดลง

นอนไม่หลับ

ปัจจัยภายนอก ได้แก่

– เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แม้ว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในขั้นต้นอาจทำให้ง่วงและหลับได้
แต่หลังจากนั้นจะทำให้เราหลับไม่สนิทเพราะวงจรการนอนแปรปรวน

– การบริโภคเครื่องดื่มผสมคาเฟอีน 4-6 ชั่วโมงก่อนเวลาเข้านอน

– สารนิโคตินในบุหรี่หรือยาสูบ

– อาหารที่มีรสเผ็ดหรือปริมาณมากเกินไปก่อนเข้านอน 1-2 ชั่วโมง จะรบกวนการนอนหลับ เพราะร่างกายต้องนำพลังงานไปย่อยอาหาร อีกทั้งยังเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกรดไหลย้อนตามมา

– ความหิวหรืออาการท้องว่าง โดยเฉพาะคนที่กำลังเริ่มอดอาหารหรือคุมอาหารช่วงเย็น
(ถ้ารู้สึกหิว การดื่มนมอัลมอนด์สักแก้วอาจช่วยได้ เพราะนอกจากจะอยู่ท้องแล้วยังมี
กรดอะมิโนที่ช่วยให้นอนหลับดีขึ้น)

– ดื่มน้ำมากไป จนต้องตื่นมาปัสสาวะในตอนกลางคืน

– คู่นอนนอนกรน ข้างบ้านเสียงดัง ห้องนอนเปิดแอร์หนาวไป อากาศร้อนไป

– การทำงานเป็นกะ ไม่สม่ำเสมอ หรือมีอาการ Jet Lag เพราะเดินทางข้ามทวีปบ่อย

– ยาหลายชนิดที่ทำให้นอนไม่หลับหรือหลับไม่สนิท และบางชนิดทำให้ระยะเวลาหลับลดลง เช่น ยาในกลุ่มโรคหอบหืด ยาโรคหัวใจบางชนิด ยาต้านไวรัสบางชนิด หากมียาที่เพิ่งได้มาใหม่จากแพทย์ แล้วสังเกตว่านอนหลับได้ไม่สนิทให้รีบปรึกษาแพทย์

– มีโรคประจำตัว เช่น ปวดเรื้อรังตามจุดต่างๆ กรดไหลย้อน ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

– แสงสว่างในห้องนอน จะขัดขวางการทำงานของฮอร์โมนเมลาโทนิน ส่งผลต่อคุณภาพการนอนหลับได้ จึงควรปิดไฟให้หมดทั้งห้อง

ดื่มชา

และวิธีแก้ที่คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงคือการกินยานอนหลับ แต่คงจะดีกว่าถ้าเราแก้ปัญหาการนอนไม่หลับได้จากต้นเหตุ หรือพยายามหลีกเลี่ยงจากสาเหตุหรือปัจจัยที่ทำให้นอนไม่หลับ เช่น
จัดที่นอนให้เหมาะสมแก่การนอน : เงียบสงบ อุณหภูมิที่เย็นสบายพอเหมาะ ไม่เปิดโทรทัศน์ และหากต้องการให้ร่างกายพักผ่อนมากจริงๆ ให้ปิดเครื่องมือสื่อสารทุกชนิด จะได้ไม่มีเสียงรบกวนขณะนอนหลับ
ผ่อนคลายกล้ามเนื้อก่อนนอน เช่น การนวดให้ร่างกายผ่อนคลาย การแช่น้ำอุ่น
– หลีกเลี่ยงการนอนกลางวัน หรือการใช้ยาที่ทำให้เกิดอาการง่วงซึมในช่วงกลางวัน
เมื่อรู้สึกง่วงจะต้องเข้านอนทันที เข้านอนให้เวลานั้นเหมือนกันทุกคืน ตรงเวลา
ร่างกายจะจดจำเวลานอนเอง
หลีกเลี่ยงอาหารมื้อหนัก หรืออาหารที่ย่อยยากก่อนนอน เพราะจะทำให้ปวดท้อง
เนื่องจากมีอาการกรดไหลย้อน ถ้าท้องว่างให้รับประทานอาหารเบาๆ เช่น ขนมปังชิ้นเล็ก นมอุ่ม หรือน้ำผลไม้
ทำกิจกรรมเบาๆ เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลง หรือนั่งสมาธิ
ทำสมองให้โล่ง ปลอดโปร่ง ไม่นำเรื่องเครียด กดดัน ผิดหวัง หรือเสียใจมาคิด
ทำจิตใจให้ผ่อนคลายก่อนนอน ใช้กลิ่นเข้ามาช่วยในการนอนหลับ เช่น กลิ่นวานิลลา กลิ่นลาเวนเดอร์ กลิ่นยูคาลิปตัส กลิ่นพิมเสน หรือกลิ่นคาโมมายล์ ที่ช่วยทำให้ผ่อนคลาย
บรรเทาความเครียด จิตใจสงบ ปลอดโปร่ง และผ่อนคลาย
หลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟ ชาที่มีคาเฟอีน หรือน้ำอัดลม เพราะจะทำให้นอนไม่หลับ
และลดประสิทธิภาพการนอนหลับ ลดการดื่มแอลกอฮอล์ลง ถึงแม้ว่าจะช่วยในเรื่อง
การนอนหลับ หากมากไปอาจส่งผลต่อร่างกายได้

ออกกำลังกาย


ออกกำลังกายสม่ำเสมอ แต่ไม่ควรออกกำลังกายก่อนนอน เพราะจะทำให้ร่างกายมีการตื่นตัว นอนไม่หลับ (ควรออกกำลังกายก่อนถึงเวลานอน 4-6 ชั่วโมง)
รับประทานอาหารที่มีแมกนีเซียมสูง เช่น ปลาโอ ปลาเก๋า ปลากะพง ถั่วเหลือง ถั่วลิสง
อัลมอลต์ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ยอดฟักแม้ว ยอดฟักทอง และกล้วยสุก เพราะแมกนีเซียม
ลดอาการซึมเศร้า และมีผลต่อกระบวนการควบคุมการนอนหลับ โดยเป็นตัวที่ช่วยในการสร้างสารเมลาโตนิน นอกจากนั้นอาหารที่มีโปรตีนและฟอสฟอรัสนั้นยังมีแมกนีเซียมด้วย เช่น ธัญพืชไม่ขัดสี ถั่วเมล็ดแห้ง ไข่ ผักใบเขียว และเนื้อสัตว์
ดื่มชาคาโมมายล์อุ่นๆ ก่อนนอน จะช่วยให้หลับสบายขึ้น เนื่องจากเป็นสมุนไพรที่ช่วยทำให้อารมณ์รู้สึกผ่อนคลาย (Calming Herb) หรือจะดื่มนมถั่วเหลืองอุ่นๆ ซึ่งมีกรดอะมิโน แอล–ทริปโตเฟนสูง แก้วเล็กๆ ก่อนนอน ก็สามารถช่วยได้

ปรึกษาแพทย์หรือนักบำบัด อาจมีการแนะนำให้ใช้ยานอนหลับ ยาผ่อนคลายได้รับการปรึกษา หรือมีตารางการปฏิบัติมาให้ฝึกบำบัดการนอนหลับ

หากปรับพฤติกรรม ทานอาหารและเครื่องดื่มที่ช่วยส่งเสริมการนอนหลับให้ได้ประสิทธิภาพมากขึ้น แล้วยังนอนหลับได้ไม่ดีพอ ควรไปปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แท้จริงของการนอนไม่หลับ ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากฮอร์โมนต่างๆ ในร่างกายที่ทำงานลดลง หรือโรคต่างๆที่อาจซ้อนเร้นโดยที่ไม่รู้ตัว  เช่น การนอนกรน ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ หรือภาวะซึมเศร้า

Skateboarding is the soul Sugar is addictive

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ (Strictly Necessary Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้มีความสำคัญต่อการปฏิบัติการของเว็บไซต์ feedforfuture.co ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ของเว็บไซต์เราได้ทุกส่วน โดยเฉพาะส่วนสมาชิกผู้ใช้งานของเว็บไซต์ ตลอดจนการตรวจสอบจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้ด้านประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อวิเคราะห์ และช่วยให้เราทราบถึงพฤติกรรมการใช้งาน ซึ่งจะช่วยปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดในการใช้งานบนเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาเข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้ในการบันทึก และจดจำคุณลักษณะต่างๆ ที่ท่านได้เลือกขณะเข้าชมเว็บไซต์ของเรา เช่น หมวดหมู่ และเนื้อหาที่ท่านชอบอ่านมากที่สุด เราจะบันทึกข้อมูลเหล่านี้ และนำกลับมาใช้เมื่อท่านกลับเข้ามาที่เว็บไซต์ของเราอีกครั้ง เพื่อปรับให้ท่านได้รับชมเนื้อหาได้ตรงกับความชอบของท่านให้มากที่สุด

  • คุกกี้เพื่อนำเสนอโฆษณาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Advertising Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อจดจำพฤติกรรมการอ่านเนื้อหาบนเว็บไซต์ของท่าน รวมถึงรายละเอียดของอุปกรณ์ที่ท่านใช้ เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์การนำเสนอโฆษณาที่เหมาะสมกับท่านมากที่สุด และช่วยวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณาที่เรานำเสนอด้วย ตลอดจนช่วยป้องกัน หรือจำกัดจำนวนครั้งที่ท่านจะเห็นโฆษณาเดิมซ้ำๆ

บันทึก