ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ที่นอกจากรสชาติเปรี้ยวหวานถูกใจแล้ว ยังเป็นผลไม้ที่ขึ้นชื่อเรื่องสุขภาพและอุดมไปด้วยสารอาหารหลายชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เพราะเบอร์รี่หลายชนิดมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยลดการอักเสบได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารต้านอนุมูลอิสระที่เรียกว่า ฟลาโวนอยด์ และแอนโธไซยานิน ซึ่งช่วยยับยั้งการทำลายเซลล์จากอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการอักเสบ และป้องกันความเสียหายของเซลล์ และการอักเสบเรื้อรังของเซลล์ เป็นสาเหตุสำคัญในการเกิดโรคมากมายในยุคนี้ เช่น โรคไขข้ออักเสบ โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคหอบหืด และแม้แต่โรคอัลไซเมอร์

เบอร์รี่จึงนับว่าเป็นหนึ่งในตัวช่วยที่ต้านการอักเสบได้ดี นอกจากนี้เบอร์รี่ยังมีคุณค่าทางโภชนาสูง อุดมไปด้วย ไฟเบอร์ วิตามินซี และโพลีฟีนอล ซึ่งมีส่วนช่วยในการต้านอนุมูลอิสระสูง การรับประทานเบอร์รี่จึงมีส่วนช่วยในการป้องกัน และลดอาการของโรคเรื้อรังหลายชนิดได้
สตรอว์เบอร์รี (Strawberry) แม้จะมีคำว่าเบอร์รีอยู่ในชื่อ แต่ผลไม้ชนิดนี้กลับไม่ได้อยู่ตระกูลของเบอร์รี เพราะสตรอว์เบอร์รีนั้นเป็นผลไม้ที่จัดอยู่ในตระกูลเดียวกับพวกกุหลาบ ที่มีมากกว่า 20 สปีชีส์และมีลูกผสมอีกมากมาย สตรอว์เบอร์รีนั้นอุดมไปด้วยสารต่อต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น เควอซิทิน (Quercetin) เคทเฟอรอล (Kaempferol) แอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ซึ่งสารดังกล่าวมีส่วนช่วยในการยับยั้งสารก่อมะเร็งต่าง ๆ ได้และยังมีวิตามินซีในปริมาณสูง สร้างเสริมภูมิคุ้มกัน สร้างคอลลาเจนให้ผิวหนัง ช่วยป้องกันโรคหวัด ช่วยลดอาการภูมิแพ้ ช่วยลดอาการโรคช่องปากที่เกิดจากการขาดวิตามินซี

บลูเบอร์รี่ (Blueberry) มีสารฟลาโวนอยด์ชนิดหนึ่งที่เรียกว่า แอนโธไซยานิน (Anthocyanin) เป็นสารที่ประกอบจากพืชที่มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ อุดมไปด้วยวิตามินหลากหลาย มีประโยชน์ในการช่วยลดการเสื่อมของร่างกาย ช่วยเรื่องความจำ บำรุงสายตา หากรับประทานเป็นประจำจะช่วยลดอัตราการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นอย่างดี และช่วยละความเสี่ยงเป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน
ราสเบอร์รี่ (Raspberry) อุดมไปด้วยกรดเอลลาจิก (Ellagic) เป็นมีสารอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกาย มีน้ำตาลต่ำ จึงช่วยควบคุมน้ำหนักได้ และสารสีแดงในราสเบอร์รี่เป็นตัวช่วยในการไหลเวียนโลหิต ซึ่งมีประโยชน์สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์
แครนเบอร์รี่ (Cranberry) เป็นแหล่งวิตามินและเกลือแร่หลายชนิด ทั้งวิตามินซี วิตามินอี วิตามินเค1 แมงกานีส และทองแดง อุดมไปด้วยสารชีวภาพหลายชนิดที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ และยังมีกรดซาลิไลลิก (Salicylic Acid) ช่วยป้องกันการเกิดลิ่มเลือด ช่วยต้านเซลล์มะเร็ง ช่วยป้องกันโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบและโรคไตได้ แต่หากบริโภคน้ำแครนเบอร์รี่เป็นประจำ อาจส่งผลให้ระดับกรดซาลิไซลิกในร่างกายสูงขึ้น จนเสี่ยงเป็นนิ่วในไตได้

แบล็คเบอร์รี่ (BlackBerry) มีวิตามินซีสูง ช่วยฟื้นฟูคอลลาเจนได้ดี ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และยังมีมิตามินเอ วิตามินอี ที่ช่วยชะลอการเกิดริ้วรอยก่อนวัย และวิตามินอื่นๆ ที่ช่วยในการเผาผลาญ อุดมไปด้วยกากใยอาหารช่วยในการขับถ่า
เคพกูสเบอร์รี (Cape Gooseberry) ที่อุดมไปด้วย วิตามินซีที่มีคุณสมบัติป้องกันไข้หวัด ภูมิแพ้ และวิตามินเอที่ช่วยป้องกันอาการตาบอดในที่มืด บำรุงสายตา บำรุงผิว ผมสวยดกดำ
มัลเบอร์รี่ (Mulberry) หรือ ลูกหม่อน มีวิตามินและแร่ธาตุสำคัญอย่าง วิตามินซี วิตามินอี วิตามินเค1 ธาตุเหล็ก โพแทสเซียม และยังเป็นแหล่งของสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประโยชน์ อย่างเช่น แอนโทไซยานิน (Anthocyanin ) ไซยานิดิน (Cyanidin) ไมริเซติน (Myricetin) กรดคลอโรจีนิก (Chlorogenic Acid) รูทิน (Rutin) ซึ่งสารต้านอนุมูลอิสระเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ดีต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย และปกป้องเซลล์ในร่างกายไม่ให้ถูกทำลายจากอนุมูลอิสระ

ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่สามารถนำมากินแบบผลสด หรือนำมามาดัดแปลงได้หลากหลายเมนู เช่น Mixed Berry Smoothies หรือนำมากินกับโยเกิร์ต กินกับสลัดผัก-ผลไม้ อย่างไรก็ตามการรับประทานเบอร์รี่ที่หลากหลายชนิดจะทำให้ร่างกายเราได้รับประโยชน์จากสารอาหารที่หลากหลาย เบอร์รี่เป็นส่วนหนึ่งของอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพโดยรวม แต่ไม่ได้หมายความว่าจะสามารถรักษาอาการอักเสบได้โดยตรง หากมีอาการอักเสบรุนแรง ควรปรึกษาแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ
อ้างอิงข้อมูลจาก : https://www.health.harvard.edu/nutrition/eat-these-fruits-for-their-anti-inflammatory-benefits
https://www.eatingwell.com/article/7826670/best-fruits-for-inflammation