คุณ…คือคนต่อไปหรือไม่? มะเร็งกำลังคุกคาม ‘คนรุ่นใหม่’ เร็วกว่าที่คิด!

จากผลวิจัยของ BMJ Oncology ปี 2023 เผยว่ายอดผู้ป่วยมะเร็งในกลุ่มอายุต่ำกว่า 50 ปีทั่วโลกพุ่งสูงถึง 79% ในเวลาเพียง 30 ปี และคาดการณ์ว่า ภายในปี 2030 ผู้ป่วยรายใหม่ที่อายุไม่ถึง 50 ปี จะเพิ่มขึ้นอีกถึง 31% และมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 21% นี่ไม่ใช่แค่ตัวเลข แต่มันคือสัญญาณเตือนที่ตอกย้ำว่ามะเร็งไม่ใช่แค่โรคของผู้สูงอายุอีกต่อไป แพทย์ รพ.วิมุต ชี้ ถึงเวลาแล้วที่เราต้อง “เปลี่ยนพฤติกรรม” และ “หาเวลาตรวจสุขภาพ” ก่อนที่โรคร้ายจะแพร่กระจาย

Portrait of asian girl feeling headache, migraine or being ill, standing in white t-shirt over white background. Copy space

วัยทำงานหยุดพฤติกรรมเหล่านี้ ก่อนเสี่ยงมะเร็งไม่รู้ตัว

คนอายุน้อยในกลุ่มวัยทำงานมักมีไลฟ์สไตล์ที่ทำลายสุขภาพ เช่น นอนดึก พักผ่อนไม่เพียงพอ หรือเข้านอนไม่เป็นเวลา ซึ่งล้วนส่งผลต่อระบบฮอร์โมนและภูมิคุ้มกันของร่างกาย และเกี่ยวข้องโดยตรงกับความเสี่ยงของมะเร็งหลายชนิด อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญคือเรื่องอาหาร ด้วยชีวิตที่เร่งรีบทำให้หลายคนเลือกกิน อาหารแปรรูป ที่หาซื้อได้สะดวก เช่น ไส้กรอก บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาหารแช่แข็ง หรือฟาสต์ฟู้ด ที่มักมีสารก่อมะเร็งแฝงอยู่ แถมยังมีปริมาณไขมันและโซเดียมสูงซึ่งไม่ดีต่อร่างกาย และหากกินบ่อยโดยไม่ออกกำลังกายก็อาจทำให้เกิดภาวะน้ำหนักเกินซึ่งส่งผลให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่อนแอลง

นพ.ดุลยทรรศน์ อนันตะยา อายุรแพทย์มะเร็งวิทยา ศูนย์อายุรกรรม รพ.วิมุต

เช่นกัน นพ.ดุลยทรรศน์ อนันตะยา อายุรแพทย์มะเร็งวิทยา ศูนย์อายุรกรรม รพ.วิมุต อธิบายเพิ่มเติมว่า “คนทำงานส่วนใหญ่มักมีความเครียดอยู่แล้ว แต่ถ้าจัดการความเครียดไม่ดีก็อาจกลายเป็นภาวะ เครียดเรื้อรัง ซึ่งเป็นอีกหนึ่งความเสี่ยงที่หลายคนมองข้าม เพราะอาจกระตุ้นให้เกิดการอักเสบในระดับเซลล์ และนำไปสู่โรคมะเร็งได้ ยิ่งบางคนที่คลายเครียดด้วยการดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่หรือบุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งเป็นการเพิ่มสารพิษเข้าสู่ร่างกายโดยตรง ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุสำคัญของโรคมะเร็ง ดังนั้น แม้ร่างกายของคนวัยทำงานจะยังดูแข็งแรงดี แต่หากยังทำพฤติกรรมเสี่ยงเหล่านี้ซ้ำ ๆ สะสมต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปี โรคมะเร็งก็อาจมาเยือนได้โดยไม่ทันตั้งตัว”

ส่อง 4 มะเร็งร้ายที่วัยทำงานต้องระวัง

ปัจจุบันมีมะเร็งหลายชนิดที่พบได้ในคนอายุน้อย แต่ที่พบได้บ่อยในประเทศไทยมีอยู่ 4 ชนิด

  1. มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง: เมื่อก่อนมักเจอในคนอายุ 50 ปีขึ้นไป แต่ปัจจุบันกลับพบมากขึ้นในช่วงอายุ 30 ต้น ๆ โดยเฉพาะกลุ่มที่กินอาหารแปรรูปและแอลกอฮอล์ รวมถึงนอนดึก มักไม่แสดงอาการชัดเจนในระยะแรก อาจมีแค่ขับถ่ายผิดปกติ เช่น อุจจาระลำเล็กลง หรือแค่น้ำหนักลด ทำให้หลายคนไม่ทันสังเกต และมักตรวจพบในระยะที่โรคลุกลามแล้ว ซึ่งถ้าลุกลามจนถึงระยะที่สี่ โอกาสรักษาให้หายขาดแทบเป็นไปไม่ได้
  2. มะเร็งเต้านม: พบในผู้หญิงอายุน้อยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การมีประจำเดือนเร็วกว่าคนรุ่นก่อน การไม่มีลูกหรือมีลูกช้าลง รวมถึงประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นมะเร็ง และการใช้ยาคุมกำเนิดหรือฮอร์โมนต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน มะเร็งเต้านมในคนอายุน้อยมักมีลักษณะรุนแรงและเติบโตเร็ว ทำให้รักษาได้ยากกว่าในกลุ่มอายุอื่น หญิงสาวจำนวนไม่น้อยตรวจพบโรคในระยะลุกลามเพราะ “คิดว่ายังไม่มีความเสี่ยง” ดังนั้น ผู้หญิงทุกคนจึงควรฝึกคลำเต้านมด้วยตัวเองเพื่อตรวจคัดกรองเบื้องต้นไว้เสมอตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป
  3. มะเร็งตับ: สัมพันธ์กับภาวะไขมันพอกตับ ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซี หรือบริโภคอาหารที่ปนเปื้อนพิษของเชื้อรา อัลฟาท็อกซิน (เช่น ในพริกป่น ถั่ว อาหารแห้ง หรือผลไม้ที่ขึ้นรา) หากมีราปนเปื้อนแม้เพียงนิดเดียว ก็ควรทิ้งทั้งหมด ยิ่งไปกว่านั้น พฤติกรรมการกินอาหารหวาน-มันจัด เมื่อพลังงานที่รับเข้ามาเกินความต้องการ ร่างกายจะเก็บสะสมเป็นไขมัน โดยเฉพาะที่ตับ ส่งผลให้ตับอักเสบเรื้อรัง ซึ่งแม้แต่คนที่มีรูปร่างผอมก็มีความเสี่ยงภาวะไขมันพอกตับและนำไปสู่มะเร็งได้เช่นกัน
  4. มะเร็งปอด: ที่เคยเป็นโรคร้ายของกลุ่มผู้สูงอายุหรือผู้ที่สูบบุหรี่จัด กำลังคุกคามคนอายุน้อยลงเรื่อย ๆ แม้ว่าการสูบบุหรี่ยังคงเป็นสาเหตุหลัก แต่ในกลุ่มคนที่ไม่สูบกลับพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้น ซึ่งเกิดจากหลายปัจจัย ทั้ง มลพิษทางอากาศ PM2.5 ควันบุหรี่มือสอง สารเคมี และการกลายพันธุ์ของยีนควบคุมการแบ่งตัวของเซลล์(EGFR)

โรคมะเร็งทั้ง 4 ชนิดนี้มีลักษณะแตกต่างกัน แต่จุดร่วมที่น่ากลัวคือคนเป็นกันไวขึ้น ไม่เว้นแม้แต่คนอายุน้อย

3d illustration of a cancer cell and lymphocytes

สัญญาณเตือนภัยของโรคมะเร็งในวัยหนุ่มสาว

แม้จะอยู่ในวัยทำงานที่ร่างกายดูแข็งแรงสมบูรณ์ แต่โรคมะเร็งสามารถเกิดขึ้นได้โดยไม่มีสัญญาณชัดเจนในระยะแรก สิ่งสำคัญคือการใส่ใจความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย โดยเฉพาะอาการเล็กน้อยที่เป็นต่อเนื่องนานเกิน 2–4 สัปดาห์ ไม่ว่าจะเป็น ก้อนผิดปกติที่เต้านม น้ำหนักที่ลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ ท้องผูกเรื้อรัง ท้องผูกสลับท้องเสีย อุจจาระลำเล็กลงหรือถ่ายเป็นเลือด รวมถึงอาการซีด เหนื่อยง่าย หรือปวดท้องแบบเรื้อรัง แม้อาการเหล่านี้อาจไม่ใช่มะเร็งเสมอไป แต่ก็ไม่ควรละเลย เพราะหากปล่อยไว้อาจทำให้การวินิจฉัยและรักษาล่าช้าจนมะเร็งลุกลามจนเข้าระยะแพร่กระจาย

“โรคมะเร็งเป็นโรคร้ายที่ไม่ใช่เรื่องไกลตัวสำหรับคนอายุน้อยอีกแล้ว แต่ก็ไม่อยากให้ทุกคนตื่นกลัวจนเกินไป เพียงแค่ต้องดูแลร่างกายให้ดีตั้งแต่วันนี้ เน้นกินให้ดี นอนให้พอ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ มากกว่า 150 นาทีต่อสัปดาห์ ที่สำคัญคืออย่าคิดว่าอายุยังน้อยเท่ากับแข็งแรง โดยเฉพาะกลุ่มวัยทำงานช่วง 30 ปีขึ้นไปที่เริ่มมีความเสี่ยงแล้ว เพราะมะเร็งส่วนใหญ่เป็นภัยเงียบที่มักไม่แสดงอาการชัดเจน ดังนั้นต้องหมั่นสังเกตตัวเองให้ดีและไปตรวจสุขภาพเป็นประจำ รวมถึงตรวจคัดกรองโรคมะเร็งไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ โดยเฉพาะมะเร็งลำไส้ เต้านม และตับ ที่อันตรายและพบได้บ่อยขึ้น เพราะ ถ้ายิ่งตรวจพบได้ไว โอกาสรักษาหายขาดก็ยิ่งสูง” นพ.ดุลยทรรศน์ อนันตะยา กล่าวทิ้งท้าย

ผู้ที่สนใจปรึกษาแพทย์โรงพยาบาลวิมุต สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ได้ที่ศูนย์อายุรกรรม ชั้น 3 โรงพยาบาลวิมุต เวลาทำการ 08:00 – 24:00 น. โทร. 02-079-0030 หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือใช้บริการปรึกษาหมอออนไลน์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ (Strictly Necessary Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้มีความสำคัญต่อการปฏิบัติการของเว็บไซต์ feedforfuture.co ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ของเว็บไซต์เราได้ทุกส่วน โดยเฉพาะส่วนสมาชิกผู้ใช้งานของเว็บไซต์ ตลอดจนการตรวจสอบจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้ด้านประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อวิเคราะห์ และช่วยให้เราทราบถึงพฤติกรรมการใช้งาน ซึ่งจะช่วยปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดในการใช้งานบนเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาเข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้ในการบันทึก และจดจำคุณลักษณะต่างๆ ที่ท่านได้เลือกขณะเข้าชมเว็บไซต์ของเรา เช่น หมวดหมู่ และเนื้อหาที่ท่านชอบอ่านมากที่สุด เราจะบันทึกข้อมูลเหล่านี้ และนำกลับมาใช้เมื่อท่านกลับเข้ามาที่เว็บไซต์ของเราอีกครั้ง เพื่อปรับให้ท่านได้รับชมเนื้อหาได้ตรงกับความชอบของท่านให้มากที่สุด

  • คุกกี้เพื่อนำเสนอโฆษณาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Advertising Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อจดจำพฤติกรรมการอ่านเนื้อหาบนเว็บไซต์ของท่าน รวมถึงรายละเอียดของอุปกรณ์ที่ท่านใช้ เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์การนำเสนอโฆษณาที่เหมาะสมกับท่านมากที่สุด และช่วยวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณาที่เรานำเสนอด้วย ตลอดจนช่วยป้องกัน หรือจำกัดจำนวนครั้งที่ท่านจะเห็นโฆษณาเดิมซ้ำๆ

บันทึก